1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

ไม่เคยมีประจำเดือนมาเลยตั้งแต่ย่างเข้าวัยสาว หรือเคยมีประจำเดือนทุกเดือน และเกิดขาดไป
สาเหตุที่พบบ่อย : ตั้งครรภ์ ฉีดยาคุมกำเนิด วัยหมดประจำเดือน หลังคลอดบุตรหรือให้นมบุตร โรควิตกกังวล โรคอารมณ์แปรปรวน

  • 1.

    เคยมีประจำเดือนมาก่อน?

  • 2.

    มีอาการปวดท้องฉับพลัน? ร่วมกับ มีภาวะซีด/ลุกนั่งจะเป็นลม/มีภาวะช็อก (กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น หน้าซีด ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเบาและเร็ว)?

  • 3.

    พบในผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว และมีอาการแพ้ท้องหรือตั้งครรภ์ หรือ ตรวจปัสสาวะพบว่าตั้งครรภ์?

  • 4.

    พบในหญิงที่เพิ่งคลอดบุตรใหม่ๆ?

  • 5.

    ฉีดยาคุมกำเนิด กินยาคุมกำเนิด หรือ เคยผ่าตัดมดลูกหรือรังไข่?

  • 6.

    ออกร้อนซู่ซ่าตามผิวกาย หรือเหงื่อออกตอนกลางคืน ในผู้หญิงอายุ 40-55 ปี?

  • 7.

    ปวดศีรษะเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ? หรือ ตามืดมัวลงเรื่อยๆ/ลานสายตาแคบ (มองไม่เห็นด้านข้าง)/เห็นภาพซ้อน?

  • 8.

    มีหนวดขึ้น และขนขึ้นตามใบหน้าและแขนขาผิดธรรมชาติ หรือ มีน้ำนมออกผิดธรรมชาติ (ไม่ใช่ออกหลังคลอดบุตร)?

  • 9.

    มีสิวขึ้น หน้ามัน หรือ มีบุตรยาก?

ควรไปพบแพทย์ ภายใน 1 สัปดาห์ เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติม เนื่องจากอาการของคุณข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ โรคคุชชิง, เนื้องอกรังไข่, เนื้องอกต่อมหมวกไต, เนื้องอกสมอง, หรือโรคอื่น ๆ
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
คุชชิง

โรคคุชชิง (กลุ่มอาการคุชชิง ก็เรียก) เป็นกลุ่มอาการผิดปกติของร่างกายซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะมีกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoid ซึ่งเป็นฮอร์โมนสตีรอยด์กลุ่มหนึ่ง) มากเกิน เป็นเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้

เนื้องอกรังไข่ ถุงน้ำรังไข่
เนื้องอกรังไข่ และถุงน้ำรังไข่ อาจอยู่ในเนื้อรังไข่หรืออยู่บนผิวของรังไข่ก็ได้ บางกรณีอาจเป็นก้อนยื่นออกจากรังไข่โดยมีก้าน (ขั้ว) เชื่อมติดกับรังไข่ พบได้ในผู้หญิงทุกวัย ส่วนใหญ่พบในวัยเจริญพันธุ์
 
เนื้องอกและถุงน้ำรังไข่มีอยู่หลายชนิด* ส่วนใหญ่เป็นชนิดไม่ร้าย (benign) ส่วนน้อยที่เป็นมะเร็งรังไข่ ซึ่งมักพบในผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี
 
 
 
* เช่น follicular cyst, corpus luteum cyst, cystadenoma, dermoid cyst, endometrioma (ดู "โรคเยื่อบุมดลูกต่างที่/เอ็นโดเมทริโอซิส"), polycystic ovary syndrome (ดู "โรคกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ชนิดหลายถุง/พีซีโอเอส"), fibroma, brenner tumor, thecoma, struma ovarii เป็นต้น
เนื้องอกสมอง

เนื้องอกสมอง หมายถึง เนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในกะโหลกศีรษะ ซึ่งสามารถเกิดจากเซลล์ได้ทุกชนิดที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อทุกส่วนของกะโหลกศีรษะ เนื้องอกสมองจึงมีอยู่ร่วมร้อยชนิด ซึ่งมีชื่อเรียกตามชนิดของเซลล์ 

 

เนื้องอกสมองมีทั้งชนิดไม่ร้ายหรือเนื้องอกธรรมดา กับเนื้องอกชนิดร้ายหรือมะเร็ง และยังแบ่งเป็นชนิดปฐมภูมิ ซึ่งเกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อภายในกะโหลกศีรษะเอง (มีทั้งเนื้องอกธรรมดา และมะเร็ง) กับชนิดทุติยภูมิ ซึ่งเป็นมะเร็งที่แพร่กระจายมาจากนอกกะโหลกศีรษะ*

 

โรคนี้พบได้ในคนทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้สูงอายุ กล่าวโดยรวมแล้ว โรคนี้พบได้บ่อยในกลุ่มอายุ 40-70 ปี ยิ่งอายุมากก็ยิ่งพบได้มาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้องอกชนิดทุติยภูมิมากกว่าชนิดปฐมภูมิ

 

ส่วนในเด็กพบมากในกลุ่มอายุ 3-12 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้องอกชนิดปฐมภูมิ และมักเป็นเนื้องอกธรรมดามากกว่ามะเร็ง เนื้องอกสมองที่พบในเด็กเป็นเนื้องอกที่พบได้มากที่สุดในบรรดาเนื้องอกที่พบในเด็ก

 

โรคนี้มักมีอาการปวดศีรษะเป็นสำคัญ พบว่าผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ 100,000 คน มีสาเหตุจากเนื้องอกสมองประมาณ 10 คน

 

นอกจากปวดศีรษะแล้ว เนื้องอกสมองยังมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยซึ่งมีได้หลากหลาย ตั้งแต่การรับรู้ การทำงานของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรม เนื่องมาจากเนื้องอกกดเบียดหรือทำลายเนื้อเยื่อสมอง เส้นประสาทสมอง และต่อมฮอร์โมนในสมองมีการหลั่งฮอร์โมนมากเกินหรือน้อยเกิน ทั้งนี้ ขึ้นกับขนาด ชนิด และตำแหน่งของเนื้องอก

 
*เนื้องอกสมอง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ 

1. ชนิดปฐมภูมิ หมายถึง เนื้องอกที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ (เช่น กะโหลกศีรษะ เยื่อหุ้มสมอง เซลล์สมอง เส้นประสาทสมอง ต่อมใต้สมอง ต่อมไพเนียล หลอดเลือด เป็นต้น) มีชื่อเรียกตามชนิดของเซลล์  ซึ่งยังแบ่งเป็นชนิดไม่ร้าย หรือเนื้องอกธรรมดา (benign tumor เช่น meningioma, pituitary tumor, acoustic neuroma, craniopharyngioma) กับชนิดร้ายหรือมะเร็ง (malignant tumor/cancer เช่น  glioma ซึ่งมีหลายชนิดย่อย, medulloblastoma, pineoblastoma) เนื้องอกสมองที่พบในเด็กมักเป็นชนิดปฐมภูมิ และเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายมากกว่าชนิดร้าย 

2. ชนิดทุติยภูมิ หมายถึง มะเร็งที่แพร่กระจายมาจากนอกกะโหลกศีรษะ ที่พบบ่อยได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไต มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา เนื้องอกสมองชนิดทุติยภูมิพบบ่อยในวัยกลางคนขึ้นไป บางครั้งผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการของเนื้องอกสมองมากกว่าอาการของมะเร็งที่เป็นต้นกำเนิด