1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

มีอาการถ่ายเป็นเลือดหรือถ่ายดำ 
ถ่ายเป็นเลือด หมายถึง อาการถ่ายอุจจาระออกเป็นเลือดแดงสด 
ถ่ายดำ (อุจจาระดำ) หมายถึง อาการถ่ายอุจจาระออกเป็นสีดำ (เลือกเก่าที่ออกเป็นสีดำคล้ำ) 
สาเหตุที่พบบ่อย : 1. ถ่ายเป็นเลือด : ริดสีดวงทวาร แผลปริที่ขอบทวารหนัก มะเร็งลำไส้ใหญ่  2. ถ่ายดำ (อุจจาระดำ) : กระเพาะอาหารอักเสบ แผลเพ็ปติก มะเร็งกระเพาะอาหาร

  • 1.

    มีภาวะช็อก (มีอาการกระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น หน้าซีด ลุกนั่งหน้ามืดจะเป็นลม ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเบาและเร็ว)? หรือ เลือดออกรุนแรง?

  • 2.

    มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

    • กลืนลำบาก?
    • อาเจียนบ่อย?
    • น้ำหนักลด?
    • ซีด?
    • ดีซ่าน (ตาเหลือง)?
    • ท้องผูกสลับกับท้องเดินเรื้อรัง?
    • คลำได้ก้อนในช่องท้อง?

  • 3.

    มีจุดแดง/จ้ำเขียวขึ้นตามผิวหนัง หรือ มีเลือดออกที่อื่น?

    วิธีสังเกตอาการจุดแดงจ้ำเขียว: หากใช้นิ้วมือดึงรั้งผิวหนังในบริเวณที่มีผื่นหรือจุดให้ตึง ถ้าเป็นจุดแดงจ้ำเขียวจะไม่จางหาย แต่ถ้าจางหาย มักเป็นรอยผื่นของหัด หัดเยอรมัน ส่าไข้ จุดแดงรูปแมงมุม รอยยุงกัด หรือจุดของหลอดเลือดฝอยที่พองตัว

  • 4.

    ถ่ายเป็นมูกปนเลือด?

  • 5.

    ถ่ายเป็นเลือดสด?

  • 6.

    ถ่ายดำ (ถ่ายอุจจาระดำ)?

  • 7.

    ปวดแสบใต้ลิ้นปี่เวลาหิวหรือหลังกินอิ่ม? มีประวัติเป็นโรคกระเพาะ (ปวดที่ใต้ลิ้นปี่) มานาน? หรือ มีประวัติกินยาชุดหรือแอสไพริน ยาแก้ปวด ยาแก้ข้ออักเสบ หรือดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ?

ควรไปพบแพทย์ ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติม เนื่องจากอาการของคุณข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ เลือดออกในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจมีสาเหตุจากแผลเพ็ปติก, กระเพาะอาหารอักเสบ, มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือโรคอื่น ๆ
ควรไปพบแพทย์ทันที ถ้ามีอาการใจหวิวใจสั่นและลุกนั่งจะเป็นลม 
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
แผลเพ็ปติก
แผลเพ็ปติก* หมายถึง แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร (stomach) ซึ่งเรียกว่า โรคแผลกระเพาะอาหาร หรือแผลจียู (gastric ulcer/GU) หรือแผลที่เยื่อบุลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ซึ่งเรียกว่า โรคแผลลำไส้เล็กส่วนต้น หรือแผลดียู (duodenal ulcer/DU)
 
แผลเพ็ปติกเป็นโรคที่พบได้บ่อย ประมาณร้อยละ10-20 ของคนทั่วไปจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
 
แผลลำไส้เล็กส่วนต้น (ดียู) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-4 เท่า และพบมากในช่วงอายุประมาณ 30-55 ปี ขณะที่แผลกระเพาะอาหารพบในผู้ชายพอ ๆ กับผู้หญิง และพบในช่วงอายุประมาณ 55-70 ปี แต่ทั้ง 2 โรคนี้ก็สามารถพบได้ในคนทุกวัย
 
 
*เดิมนิยมเรียกว่า โรคกระเพาะ โดยวินิจฉัยจากอาการแสดง คือ ปวดท้องตรงยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ที่เกิดก่อนหรือหลังอาหาร (หิวแสบ-อิ่มจุก) เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันพบว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่จำเพาะว่าเกิดจากแผลเพ็ปติกเสมอไป ต้องอาศัยการตรวจโดยการใช้กล้องส่อง หรือเอกซเรย์โดยการกลืนแป้งแบเรียม จึงจะแยกสาเหตุได้ชัดเจน ดังนั้น คำว่า "โรคกระเพาะ" จึงมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "อาหารไม่ย่อย" ในที่นี้จึงขอใช้คำว่า "แผลเพ็ปติก" ในการเรียกชื่อโรคแผลกระเพาะอาหาร และแผลลำไส้เล็กส่วนต้น
กระเพาะอาหารอักเสบ
กระเพาะอาหารอักเสบ (กระเพาะอักเสบ ก็เรียก) หมายถึง การอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ในปัจจุบันได้แบ่งกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นชนิดเยื่อบุกร่อน (erosive gastritis) ชนิดเรื้อรัง (chronic/nonerosive gastritis) และชนิดจำเพาะ (specific types of  gastritis) โรคนี้พบได้ในคนทั่วไป พบมากในผู้ที่กินยาแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (ยาแก้ปวดข้อ) ดื่มสุราจัด และผู้สูงอายุ
มะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่พบในคนอายุมากกว่า 40 ปี พบมากในช่วงอายุ 60-80 ปี คนอายุน้อยกว่า 40 ปีก็พบได้แต่น้อย พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3เท่า พบมากเป็นอันดับที่ 9 ของมะเร็งในผู้ชาย


ตำแหน่งมะเร็งกระเพาะอาหาร
ตำแหน่งมะเร็งกระเพาะอาหาร