1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

มีอาการถ่ายอุจจาระเป็นมูก หรือมูกปนเลือด มักมีอาการปวดท้อง ปวดเบ่งที่ก้นคล้ายถ่ายไม่สุด ถ่ายกะปริดกะปรอยร่วมด้วย
สาเหตุที่พบบ่อย : โรคลำไส้แปรปรวน บิดชิเกลลา

  • 1.

    ปวดท้องรุนแรง? กดเจ็บท้องมาก? หน้าท้องเกร็งแข็ง? อาเจียนเป็นพักๆ ? หรือ มีภาวะขาดน้ำรุนแรง?

  • 2.

    น้ำหนักลดฮวบ? ซีด? ดีซ่าน (ตาเหลือง)? ถ่ายนานกว่า 2 สัปดาห์? เป็นๆ หายๆ เรื้อรัง? หรือ คลำได้ก้อนในท้อง?

  • 3.

    ทวารหนักโผล่ในเด็ก?

  • 4.

    ถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือดกะปริดกะปรอยบ่อยครั้ง? และ มีอาการปวดเบ่งที่ก้นคล้ายถ่ายไม่สุด?

  • 5.

    มีไข้สูง? หรือ มีอาการปวดท้องถ่ายเป็นน้ำแบบท้องเดินนำมาก่อน?

  • 6.

    อุจจาระเหม็นเหมือนหัวกุ้งเน่า? มีอาการนานกว่า 1 สัปดาห์? หรือเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง?

ควรไปพบแพทย์ ภายใน 2-3 วัน เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติม เนื่องจากอาการของคุณข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ บิดอะมีบา
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
บิดอะมีบา
อะมีบา เป็นโปรโตซัว (สัตว์เซลล์เดียว) ชนิดหนึ่ง สามารถเข้าไปทำให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้ กลายเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis) เรียกว่า บิดอะมีบา หรือเข้าไปในตับทำให้เกิดฝีในตับ เรียกว่า ฝีตับอะมีบา 
 
บิดอะมีบา (บิดมีตัว) พบได้ในคนทุกวัย แต่พบมากในคนอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป
 
บิดชนิดนี้พบได้น้อยกว่าบิดชิเกลลา มักพบในท้องถิ่นที่การสุขาภิบาลยังไม่ดี หรือในกลุ่มคนที่ยังขาดสุขนิสัยที่ดี
 
การติดเชื้อมักเกิดได้บ่อยในสถานพักฟื้นของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยทางจิตเวช และในกลุ่มชายรักร่วมเพศ
 
ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดง แต่เป็นพาหะแพร่เชื้อให้ผู้อื่น ส่วนน้อยจะกลายเป็นโรคบิดอะมีบา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด ขาดอาหาร ป่วยเป็นมะเร็ง ใช้ยาสตีรอยด์หรือยากดภูมิคุ้มกัน ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอดอาจเกิดอาการรุนแรง และมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้