1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

มีอาการถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายเหลวบ่อยครั้งนานเกิน 3 สัปดาห์ หรือเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง
สาเหตุที่พบบ่อย : โรคลำไส้แปรปรวน ภาวะพร่องแล็กเทส แพ้อาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ เอดส์
ถ้าถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือด : ให้ดู อาการบิด

  • 1.

    น้ำหนักลดฮวบ?

  • 2.

    มีไข้?

  • 3.

    กินยาถ่าย ยาลดกรดคอลชิซีน (รักษาโรคเกาต์) หรือมะขามแขกเป็นประจำ?

  • 4.

    ท้องผูกสลับท้องเดิน?

  • 5.

    ทวารหนักโผล่ในเด็ก?

  • 6.

    มีลมพิษ ผื่นคัน หรือผิวหนังบวมคันร่วมด้วย หรือ มีอาการกำเริบเมื่อกินอาหารที่แพ้ (เช่น นมวัว ไข่ กุ้ง หอย ปู ปลา ถั่วลิสง)?

  • 7.

    มีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อน?

  • 8.

    สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี?

  • 9.

    มีประวัติเป็นโรคลำไส้แปรปรวน? หรือ มีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ มากกว่าวันละ 3 ครั้ง เป็นๆ หายๆ เป็นแรมเดือนแรมปี มักมีอาการหลังมื้ออาหาร หรือในช่วงที่มีความเครียด?

  • 10.

    มีอาการเฉพาะหลังดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม งดบริโภคพวกนี้แล้วดีขึ้น?

อาการของคุณข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ ภาวะพร่องแล็กเทส
  • งดบริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนม
  • กินนมถั่วเหลือง/น้ำเต้าหู้
 ควรไปพบแพทย์ ถ้าไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน หรือเป็นๆ หายๆ บ่อย
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ภาวะพร่องแล็กเทส
แล็กเทส เป็นเอนไซม์ที่สร้างโดยเยื่อบุลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ย่อยแล็กโทส (lactose) ซึ่งเป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในน้ำนม (ทั้งนมมารดา นมวัว และนมแพะ) ให้แตกออกเป็นกลูโคสและกาแล็กโทส (galactose) ซึ่งมีขนาดเล็กลง ง่ายต่อการดูดซึม ถ้าหากลำไส้พร่องเอนไซม์ชนิดนี้ น้ำตาลแล็กโทสจะไม่ถูกย่อย และไม่ถูกลำไส้ดูดซึม ทำให้มีการดึงดูดน้ำเข้ามาในลำไส้ เกิดอาการท้องเดิน และเมื่อแล็กโทสผ่านลงไปในลำไส้ใหญ่ก็จะมีการทำปฏิกิริยากับแบคทีเรีย เกิดแก๊ส (ลม) ในลำไส้ (ทำให้ท้องอืด) กรดแล็กติก และสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดซึ่งจะออกมาในอุจจาระ (ทำให้ท้องเดิน)
 
ภาวะนี้พบในคนทุกวัย มักเริ่มพบตั้งแต่ในช่วงวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว พบได้น้อยในทารก
 
อาการท้องเดินที่เกิดจากภาวะนี้ มักจะเรียกว่า ภาวะไม่ทนต่อแล็กโทส (lactose intolerance)