1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

มีอาการถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายเหลวบ่อยครั้งนานเกิน 3 สัปดาห์ หรือเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง
สาเหตุที่พบบ่อย : โรคลำไส้แปรปรวน ภาวะพร่องแล็กเทส แพ้อาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ เอดส์
ถ้าถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือด : ให้ดู อาการบิด

  • 1.

    น้ำหนักลดฮวบ?

  • 2.

    มีไข้?

  • 3.

    กินยาถ่าย ยาลดกรดคอลชิซีน (รักษาโรคเกาต์) หรือมะขามแขกเป็นประจำ?

  • 4.

    ท้องผูกสลับท้องเดิน?

  • 5.

    ทวารหนักโผล่ในเด็ก?

  • 6.

    มีลมพิษ ผื่นคัน หรือผิวหนังบวมคันร่วมด้วย หรือ มีอาการกำเริบเมื่อกินอาหารที่แพ้ (เช่น นมวัว ไข่ กุ้ง หอย ปู ปลา ถั่วลิสง)?

  • 7.

    มีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อน?

  • 8.

    สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี?

ควรไปพบแพทย์ ภายใน 2-3 วัน เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติม เนื่องจากอาการของคุณข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ มะเร็งลำไส้ใหญ่, ท้องเดินจากเชื้อไกอาร์เดีย, บิดอะมีบา, เอดส์, การดูดซึมผิดปกติ, โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือโรคอื่น ๆ
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง เป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับที่ 3 ของมะเร็งในผู้ชาย และอันดับที่ 5 ของมะเร็งในผู้หญิง พบมากในช่วงอายุมากกว่า 50 ปี ในเด็กพบได้น้อย


ตำแหน่งมะเร็งลำไส้ใหญ่

ตำแหน่งมะเร็งลำไส้ใหญ่
ท้องเดินจากเชื้อไกอาร์เดีย
ไกอาร์เดีย (Giardia) เป็นโปรโตซัว (สัตว์เซลล์เดียว) ชนิดหนึ่งแบบเดียวกับอะมีบา สามารถเข้าไปทำให้เกิดการติดเชื้อที่ลำไส้เล็ก กลายเป็นโรคท้องเดินทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังได้

โรคนี้พบได้ในคนทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะพบในเด็ก มักพบในถิ่นที่การสุขาภิบาลยังไม่ดี (เช่น ไม่มีส้วมใช้ ไม่มีน้ำดื่มสะอาด มีแมลงวันชุกชุม) หรือในกลุ่มคนที่ดื่มน้ำไม่สะอาด หรือขาดสุขนิสัยที่ดี

การติดเชื้อมักเกิดได้บ่อยในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานพักฟื้นของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยจิตเวช และในหมู่ชายรักร่วมเพศ

ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดง แต่เป็นพาหะแพร่เชื้อให้คนอื่น
บิดอะมีบา
อะมีบา เป็นโปรโตซัว (สัตว์เซลล์เดียว) ชนิดหนึ่ง สามารถเข้าไปทำให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้ กลายเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis) เรียกว่า บิดอะมีบา หรือเข้าไปในตับทำให้เกิดฝีในตับ เรียกว่า ฝีตับอะมีบา 
 
บิดอะมีบา (บิดมีตัว) พบได้ในคนทุกวัย แต่พบมากในคนอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป
 
บิดชนิดนี้พบได้น้อยกว่าบิดชิเกลลา มักพบในท้องถิ่นที่การสุขาภิบาลยังไม่ดี หรือในกลุ่มคนที่ยังขาดสุขนิสัยที่ดี
 
การติดเชื้อมักเกิดได้บ่อยในสถานพักฟื้นของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยทางจิตเวช และในกลุ่มชายรักร่วมเพศ
 
ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดง แต่เป็นพาหะแพร่เชื้อให้ผู้อื่น ส่วนน้อยจะกลายเป็นโรคบิดอะมีบา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด ขาดอาหาร ป่วยเป็นมะเร็ง ใช้ยาสตีรอยด์หรือยากดภูมิคุ้มกัน ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอดอาจเกิดอาการรุนแรง และมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้
เอดส์
โรคเอดส์/กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันบกพร่อง (acquired immunodeficiency syndrome/AIDS) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสเอชไอวี (human immunodeficiency virus/HIV) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม retrovirus เชื้อนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปเจริญอยู่ในเม็ดเลือดขาวที่มีชื่อว่า "CD4 lymphocyte" (นิยมเรียกย่อ ๆ ว่า CD4)* และทำลายเม็ดเลือดขาวชนิดนี้ จนในที่สุดทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง เป็นผลทำให้เกิดมะเร็งบางชนิด และโรคติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infection ซึ่งเป็นการติดเชื้อรุนแรงจากเชื้อโรคต่าง ๆ ทั้งที่เป็นชนิดที่ก่อโรคในคนปกติทั่วไป และชนิดที่ปกติไม่ทำอันตรายต่อคนที่มีภูมิคุ้มกันแข็งแรง)
 
*มีชื่อเรียกอื่น ได้แก่ T4-cell, T4-helper cells, T4-lymphocyte และ CD4 cell มีหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม