1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

มีอาการเจ็บ จุกแน่น ปวดแสบปวดร้อน หรือปวดแปลบในบริเวณหน้าอก
สาเหตุที่พบบ่อย : เจ็บตามกล้ามเนื้อกระดูกหน้าอก ไอจากไข้หวัด หรือหลอดลมอักเสบ โรคกระเพาะอาหาร  โรคหัวใจขาดเลือด โรควิตกกังวล/โรคกังวลทั่วไป

  • 1.

    หอบ?

  • 2.

    เจ็บรุนแรง มีภาวะช็อก (เหงื่อออก ตัวเย็น กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว และความดันเลือดตก) หรือ ลุกนั่งจะเป็นลม?

  • 3.

    น้ำหนักลดฮวบ?

  • 4.

    ปวดเสียวหรือเสียดแน่นบริเวณชายโครงขวาทุกวัน นานเป็นสัปดาห์ๆ? มีอาการอ่อนล้าและดีซ่าน (ตาเหลือง)? ท้องบวม? หรือ คลำได้ก้อนที่ใต้ชายโครงขวา?

  • 5.

    มีไข้?

  • 6.

    ได้รับบาดเจ็บ?

  • 7.

    กดถูกเจ็บ?

  • 8.

    เจ็บแปลบเฉพาะเวลาหายใจเข้าแรงๆ จามหรือไอ?

  • 9.

    เจ็บเฉพาะเวลาไอ?

  • 10.

    ปวดเค้นหรือจุกแน่นที่กลางอกร้าวไปที่ขากรรไกร คอ หรือแขน?

  • 11.

    มีอาการปวดแสบ/จุกแน่นตรงใต้ลิ้นปี่ ก่อนหรือหลังอาหาร? หรือ ปวดตอนดึก?

ควรไปพบแพทย์ ภายใน 2-3 วัน เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติม เนื่องจากอาการของคุณข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ อาหารไม่ย่อย, กระเพาะอาหารอักเสบ, แผลเพ็ปติก, โรคกรดไหลย้อน หรือโรคอื่น ๆ
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
อาหารไม่ย่อย

อาหารไม่ย่อย หมายถึง อาการไม่สบายท้องตรงบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ ที่เกิดขึ้นระหว่างหรือหลังกินอาหาร โดยมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน เช่น จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง เรอบ่อย แสบท้อง เรอเปรี้ยว คลื่นไส้ หรืออาเจียนเล็กน้อย เป็นต้น อาการจะเป็นเฉพาะบริเวณระดับเหนือสะดือ จะไม่มีอาการปวดท้องในส่วนใต้สะดือ และไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายร่วมด้วย  อาการนี้พบได้เกือบทุกคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ บางรายเป็นครั้งคราว บางรายอาจเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง อาจมีสาเหตุได้หลากหลาย ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงโรคที่รุนแรงหรือร้ายแรง และความผิดปกติ (พยาธิสภาพ) อาจอยู่ทั้งในและนอกกระเพาะลำไส้

กระเพาะอาหารอักเสบ
กระเพาะอาหารอักเสบ (กระเพาะอักเสบ ก็เรียก) หมายถึง การอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ในปัจจุบันได้แบ่งกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นชนิดเยื่อบุกร่อน (erosive gastritis) ชนิดเรื้อรัง (chronic/nonerosive gastritis) และชนิดจำเพาะ (specific types of  gastritis) โรคนี้พบได้ในคนทั่วไป พบมากในผู้ที่กินยาแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (ยาแก้ปวดข้อ) ดื่มสุราจัด และผู้สูงอายุ
แผลเพ็ปติก
แผลเพ็ปติก* หมายถึง แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร (stomach) ซึ่งเรียกว่า โรคแผลกระเพาะอาหาร หรือแผลจียู (gastric ulcer/GU) หรือแผลที่เยื่อบุลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ซึ่งเรียกว่า โรคแผลลำไส้เล็กส่วนต้น หรือแผลดียู (duodenal ulcer/DU)
 
แผลเพ็ปติกเป็นโรคที่พบได้บ่อย ประมาณร้อยละ10-20 ของคนทั่วไปจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
 
แผลลำไส้เล็กส่วนต้น (ดียู) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-4 เท่า และพบมากในช่วงอายุประมาณ 30-55 ปี ขณะที่แผลกระเพาะอาหารพบในผู้ชายพอ ๆ กับผู้หญิง และพบในช่วงอายุประมาณ 55-70 ปี แต่ทั้ง 2 โรคนี้ก็สามารถพบได้ในคนทุกวัย
 
 
*เดิมนิยมเรียกว่า โรคกระเพาะ โดยวินิจฉัยจากอาการแสดง คือ ปวดท้องตรงยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ที่เกิดก่อนหรือหลังอาหาร (หิวแสบ-อิ่มจุก) เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันพบว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่จำเพาะว่าเกิดจากแผลเพ็ปติกเสมอไป ต้องอาศัยการตรวจโดยการใช้กล้องส่อง หรือเอกซเรย์โดยการกลืนแป้งแบเรียม จึงจะแยกสาเหตุได้ชัดเจน ดังนั้น คำว่า "โรคกระเพาะ" จึงมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "อาหารไม่ย่อย" ในที่นี้จึงขอใช้คำว่า "แผลเพ็ปติก" ในการเรียกชื่อโรคแผลกระเพาะอาหาร และแผลลำไส้เล็กส่วนต้น
กรดไหลย้อน/เกิร์ด

โรคกรดไหลย้อน (น้ำย่อยไหลกลับ เกิร์ด ก็เรียก) หมายถึงภาวะที่มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดไหลย้อนขึ้นไประคายเคืองต่อหลอดอาหารและลำคอ

 
พบได้ประมาณร้อยละ 10-15 ของผู้ที่มีอาการอาหารไม่ย่อย พบมากในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็กเล็กและคนหนุ่มสาวได้