- ระบุอาการเบื้องต้น
- ตอบคำถาม
- ผลตรวจอาการ
- 1
- 2
- 3
แน่นจมูก คัดจมูก หรือมีน้ำมูกไหล
สาเหตุที่พบบ่อย : ไข้หวัด หวัดภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก ติ่งเนื้อเมือกจมูก
ข้อพึงระวัง ในช่วงที่มีการระบาดของโรคอุบัติใหม่ (เช่น โรคโควิด 19) หากมีอาการเป็นไข้ หรือ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย หรือ เดินทางกลับจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีการระบาด ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

- 1.
มีไข้?
- 2.
มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 หรือ เข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้? หรือ ตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19?
- 3.
เป็นหวัดคัดจมูกเรื้อรังเป็นแรมเดือนขึ้นไป ร่วมกับ ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้?
- น้ำหนักลด?
- คลำได้ก้อนที่ข้างคอ?
- เสียงแหบ?
- หูอื้อ?
- เลือดกำเดาไหล/มีน้ำมูกปนเลือด?
- 4.
น้ำมูกข้นเหลืองหรือเขียว? หรือ หายใจมีกลิ่นเหม็น?
- 5.
จามบ่อย คันจมูก/คันคอ เวลาสัมผัสถูกสิ่งที่แพ้ (เช่น อากาศเย็น ฝุ่น ละอองเกสร ขนสัตว์) และมีอาการคัดจมูก/น้ำมูกใส? หรือ มีอาการเป็นๆ หายๆ และมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้?
- 6.
มีอาการแน่นจมูก หายใจไม่สะดวก พูดเสียงขึ้นจมูกเรื้อรัง เป็นเดือนๆ หรือเป็นปีๆ ? หรือ ตรวจพบก้อนเนื้อผิวเรียบใสสีขาวเทา/เทาเหลือง ในโพรงจมูก?
- 7.
มีอาการคัดจมูกหลังใช้ยาพ่นจมูก หรือกินยาบางชนิด?
- 8.
น้ำมูกใส? หรือ มีประวัติสัมผัสผู้ที่เป็นไข้หวัด?
- 9.
มีอาการคัดจมูก/น้ำมูกไหล เพียงข้างเดียว?
- 10.
มีน้ำใสๆ ไหลออกจากจมูกตลอดเวลา หลังจากศีรษะได้รับบาดเจ็บ?
- 11.
ปวดศีรษะข้างเดียว (ข้างที่น้ำมูกไหล) อย่างฉับพลัน นานครั้งละ 15 นาที ถึง 3 ชั่วโมง ทุกวัน/วันเว้นวัน? หรือ มีประวัติเป็นโรคปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์?

ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ เป็นโรคปวดศีรษะข้างเดียวที่มีอาการปวดฉับพลันและรุนแรง เป็น ๆ หาย ๆ เป็นช่วง ๆ ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน แต่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรืออันตรายใด ๆ เป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างน้อย (ในสหรัฐอเมริกาพบโรคนี้ประมาณ 1-4 คนในประชากร 1,000 คน) พบบ่อยในช่วงอายุ 20-50 ปี แต่ก็อาจเป็นตั้งแต่วัยรุ่นหรือตอนอายุ 50 ปีกว่าก็ได้
พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในปัจจุบันพบว่าผู้หญิงได้เป็นโรคนี้มากขึ้น เนื่องจากผู้หญิงมีการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากขึ้น ประกอบกับการวินิจฉัยมีความแม่นยำขึ้น จากเดิมที่ผู้หญิงปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นไมเกรน
ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
- ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ชนิดครั้งคราว (epidemic cluster headache) ซึ่งพบเป็นส่วนใหญ่ มีอาการปวดนาน 1 สัปดาห์ถึง 1 ปี (ส่วนใหญ่ 2-12 สัปดาห์) และมีการเว้นช่วงที่ปลอดจากอาการนานอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไปก่อนจะเป็นรอบใหม่
- ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ชนิดเรื้อรัง (chronic cluster headache) ซึ่งพบเป็นส่วนน้อย (ราวร้อยละ 20) มีอาการปวดติดต่อกันนานมากกว่าหนึ่งปีขึ้นไป โดยไม่มีการเว้นช่วงที่ปลอดจากอาการ หรือเว้นช่วงนานน้อยกว่า 3 เดือนก่อนจะเป็นรอบใหม่
ทั้งสองชนิดนี้สามารถแปรเปลี่ยนไปมากันได้ ชนิดครั้งคราวอาจกลายมาเป็นชนิดเรื้อรัง หรือชนิดเรื้อรังกลายมาเป็นชนิดครั้งคราว