1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

แน่นจมูก คัดจมูก หรือมีน้ำมูกไหล
สาเหตุที่พบบ่อย : ไข้หวัด หวัดภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก ติ่งเนื้อเมือกจมูก
ข้อพึงระวัง ในช่วงที่มีการระบาดของโรคอุบัติใหม่ (เช่น โรคโควิด 19) หากมีอาการเป็นไข้ หรือ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย หรือ เดินทางกลับจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีการระบาด ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

  • 1.

    มีไข้?

  • 2.

    มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 หรือ เข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้? หรือ ตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19?

  • 3.

    เป็นหวัดคัดจมูกเรื้อรังเป็นแรมเดือนขึ้นไป ร่วมกับ ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้?

    • น้ำหนักลด?
    • คลำได้ก้อนที่ข้างคอ?
    • เสียงแหบ?
    • หูอื้อ?
    • เลือดกำเดาไหล/มีน้ำมูกปนเลือด?

  • 4.

    น้ำมูกข้นเหลืองหรือเขียว? หรือ หายใจมีกลิ่นเหม็น?

  • 5.

    เป็นเรื้อรัง? หรือ ปวดและกดเจ็บตรงหน้าผาก/หัวตา/โหนกแก้ม?

ควรไปพบแพทย์ ภายใน 2-3 วัน เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติม เนื่องจากอาการของคุณข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ ไซนัสอักเสบเรื้อรัง
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ไซนัสอักเสบ
ไซนัส (sinus)* หมายถึง โพรงอากาศเล็ก ๆ ในกะโหลกศีรษะที่อยู่รอบ ๆ จมูก และมีทางเชื่อมมาเปิดที่โพรงจมูกอยู่หลายจุด ในภาวะปกติจะมีการระบายของเมือกที่สร้างขึ้นในโพรงไซนัสลงมาที่รูเปิดในโพรงจมูกเพื่อให้ความชื้นและชะล้างโพรงจมูก แต่ถ้ารูเปิดเหล่านี้ถูกอุดกั้น เช่น เป็นหวัด (เยื่อบุจมูกและไซนัสอักเสบบวม) จากการติดเชื้อหรือภูมิแพ้ ผนังกั้นจมูกคด หรือมีเนื้องอกในรูจมูก ทำให้เมือกในโพรงไซนัสไม่สามารถระบายออกมาได้ เมือกเหล่านี้จะหมักหมมกลายเป็นอาหารสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่ลุกลามมาจากโพรงจมูกเข้าไปในโพรงไซนัส ทำให้เยื่อบุไซนัสอักเสบบวม ขนอ่อนในโพรงไซนัสสูญเสียหน้าที่ในการขับเมือกและมีการสร้างและสะสมของเมือกมากขึ้น กลายเป็นหนองขังอยู่ในโพรงไซนัสเกิดอาการของโรคไซนัสอักเสบ
 
โรคนี้แบ่งออกเป็นชนิดเฉียบพลัน (มีอาการน้อยกว่า 30 วัน) กึ่งเฉียบพลัน (มีอาการระหว่าง 30-90 วัน) และเรื้อรัง (มีอาการมากกว่า 90 วัน)
 
ไซนัสอักเสบ** เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย ซึ่งมักพบเป็นภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กซึ่งมีโอกาสเป็นไข้หวัดได้บ่อยกว่าผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังพบเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคหวัดภูมิแพ้ เยื่อจมูกอักเสบ ติ่งเนื้อเมือกจมูก ผนังกั้นจมูกคด รากฟันเป็นหนอง เป็นต้น
 
ผู้ป่วยอาจมีประวัติโรคภูมิแพ้ (เช่น หวัดภูมิแพ้ โรคหืด ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้) ในครอบครัว
 
ตำแหน่งของไซนัส
 
*ไซนัสทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นและความชื้นแก่อากาศที่หายใจเข้าไปในทางเดินหายใจ ช่วยในการรับรู้กลิ่น ปรับเสียงพูด และสร้างเมือก (เพื่อให้ความชื้นและชะล้างโพรงจมูก) ภายในเยื่อบุโพรงไซนัส (โพรงอากาศ) จะมีขนอ่อน (cilia) คอยโบกพัดเพื่อระบายเมือก (เสมหะหรือน้ำมูก) ออกข้างนอก
 
**การอักเสบอาจเกิดกับไซนัสได้ทุกตำแหน่ง แต่ที่พบได้บ่อยสุด ได้แก่ ไซนัสโหนกแก้ม (maxillary sinus) ซึ่งจะมีอาการปวดที่โหนกแก้ม