1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

มีอาการเคืองตา คันตา ตาแดง หรือมีขี้ตาแฉะ อาจพบร่วมกันหรือแยกกันโดด ๆ ก็ได้
สาเหตุที่พบบ่อย :  สิ่งแปลกปลอมเข้าตา เยื่อตาขาวอักเสบจากการแพ้ เยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เยื่อตาขาวอักเสบจากเชื้อไวรัส ต้อเนื้อ

  • 1.

    สิ่งแปลกปลอม (เช่น เศษเหล็ก เศษผง ฝุ่น) เข้าตา?

  • 2.

    หนังตาบวม?

  • 3.

    มีขี้ตา หรือ ตาแดง?

  • 4.

    คันตา?

  • 5.

    เยื่อเหลืองๆ แดงๆ ขึ้นที่หัวตา/หางตา?

  • 6.

    ตาขาวแดงเป็นปื้นหรือห้อเลือด?

  • 7.

    มีจุดแดง จ้ำเขียวตามตัว หรือ มีเลือดออกที่อื่น?
     

    วิธีสังเกตอาการจุดแดงจ้ำเขียว : หากใช้นิ้วมือดึงรั้งผิวหนังในบริเวณที่มีผื่นหรือจุดให้ตึง ถ้าเป็นจุดแดงจ้ำเขียวจะไม่จางหาย แต่ถ้าจางหาย มักเป็นรอยผื่นของหัด หัดเยอรมัน ส่าไข้ จุดแดงรูปแมงมุม รอยยุงกัด หรือจุดของหลอดเลือดฝอยที่พองตัว

ควรไปพบแพทย์ ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติม เนื่องจากอาการของคุณข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ โรคเลือด (ดูโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ, มะเร็งเม็ดเลือดขาว) หรือโรคติดเชื้อรุนแรง (ดูเล็ปโตสไปโรซิส/ไข้ฉี่หนู, โลหิตเป็นพิษ) หรือโรคอื่น ๆ
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ
ไขกระดูก (bone marrow) อยู่ในโพรงกระดูกทั่วร่างกายมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือดทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง (red blood cells) เม็ดเลือดขาว (white blood cells) และเกล็ดเลือด (platelets)
 
ในคนบางคนอาจเกิดภาวะผิดปกติของไขกระดูกเป็นเหตุให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดได้น้อยลง หรือไม่ได้เลยทั้ง 3 ชนิด เกิดภาวะโลหิตจาง (เพราะขาดเม็ดเลือดแดง) ติดเชื้อง่าย (เพราะขาดเม็ดเลือดขาว) และเลือดออกง่าย (เพราะขาดเกล็ดเลือด) เรียกว่า โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ หรือ โรคโลหิตจางอะพลาสติก
 
โรคนี้พบได้ค่อนข้างน้อย แต่เป็นภาวะที่มีอันตรายร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้ พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่พบได้บ่อยในกลุ่มวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว และผู้สูงอายุ
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลิวคีเมีย ก็เรียก) หมายถึง มะเร็งที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาววัยอ่อนในไขกระดูกมีการเจริญแบ่งตัวเร็วกว่าปกติ และกลายเป็นเซลล์ผิดปกติ (ไม่สามารถเจริญเป็นเม็ดเลือดขาวตัวแก่ที่ทำหน้าที่แบบเม็ดเลือดขาวปกติ และมีการแก่ตัวและเซลล์ตายช้ากว่าปกติ) สามารถแพร่กระจายแทรกซึมไปอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม กระดูก สมอง อัณฑะ ผิวหนัง รวมทั้งแทรกซึมในไขกระดูก ทำลายกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดในไขกระดูก ก่อให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จนเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้
 
มะเร็งเม็ดเลือดขาวมีอยู่หลายชนิด โดยหลัก ๆ แบ่งเป็น ชนิดเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากเซลล์วัยอ่อน (blast cell) มีอาการเกิดขึ้นฉับพลัน ลุกลามรวดเร็วและรุนแรง และชนิดเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เริ่มเป็นตัวแก่ ลุกลามช้า และมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป
 
หากแบ่งตามชนิดของเซลล์ต้นกำเนิดของโรค สามารถแบ่งเป็นเซลล์ที่จะเจริญเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (lymphocyte) และเซลล์ที่จะเจริญเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดอื่น รวมทั้งเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด (myeloid cell/myelocyte)
 
มะเร็งเม็ดเลือดขาวจึงแบ่งเป็น 4 ชนิดใหญ่ ๆ  ได้แก่ acute lymphocytic (lymphoblastic) leukemia (ALL), acute myelogenous (myeloblastic) leukemia (AML), chronic lymphocytic leukemia (CLL) และ chronic myelocytic (myelogenous) leukemia (CML)
 
ทุกชนิดพบได้ในคนทุกวัย แต่อาจพบมากในเด็กหรือผู้ใหญ่แตกต่างกันดังนี้
  • ชนิด ALL พบมากในเด็กอายุ 2-5 ปี (พบได้ถึงร้อยละ 80 ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก) อาจพบในผู้ใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งอายุมากกว่า 65 ปี
  • ชนิด AML เป็นมะเร็งเม็ดเลือดที่พบได้มากที่สุด พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
  • ชนิด CLL พบบ่อยในผู้ใหญ่ และมีความชุกของโรคมากขึ้นตามอายุ พบมากในกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี
  • ชนิด CML เป็นชนิดที่พบได้น้อย พบบ่อยในผู้ใหญ่อายุ 40-60 ปี พบได้น้อยในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี
เล็ปโตสไปโรซิส/ไข้ฉี่หนู
เล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้เป็นครั้งคราวในแทบทุกจังหวัด พบมากในคนที่มีอาชีพที่ต้องย่ำน้ำหรือแช่น้ำ เช่น ทำนา ทำสวน จับปลา เก็บขยะ ขุดท่อ เลี้ยงสัตว์ ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ทำเหมืองแร่ แม่บ้านที่เตรียมอาหารจากเนื้อสัตว์ นักท่องเที่ยวที่นิยมเที่ยวป่า น้ำตก ทะเลสาบ ว่ายน้ำในแหล่งน้ำจืด เป็นต้น
 
พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2.5 เท่า ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 15-54 ปี
 
โรคนี้พบได้ประปรายตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีน้ำขัง หรือเกิดภาวะน้ำท่วม มีเชื้อโรคขังอยู่ในน้ำ เมื่อคนเดินลุยน้ำหรือลงแช่น้ำก็มีโอกาสได้รับเชื้อนี้ บางครั้งอาจพบมีการระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีภาวะน้ำท่วม
 
ในระยะหลังๆ นี้ พบผู้ป่วยเป็นโรคนี้กันมากทางภาคอีสาน เนื่องจากมีหนูชุกชุมตามท้องนา และมักจะเป็นชนิดรุนแรง ชาวบ้านเรียกว่า ไข้ฉี่หนู
โลหิตเป็นพิษ
โลหิตเป็นพิษ หมายถึง ภาวะที่เชื้อหรือพิษของแบคทีเรียแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดทั่วร่างกาย ถือเป็นภาวะที่มีอันตรายร้ายแรงมาก อาจทำให้เกิดภาวะช็อกถึงตายได้