1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

มีอาการวิงเวียน ศีรษะตื้อหรือโหวงๆ รู้สึกโคลงเคลง หน้ามืดตาลายคล้ายจะเป็นลม หรือรู้สึกว่าบ้านหมุนหรือสิ่งรอบข้างหมุน อาจมีอาการพะอืดพะอม คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย โดยยังมีความรู้สึกตัว
สาเหตุที่พบบ่อย : บ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่า เมารถ เมาเรือ สาเหตุจากยา ความดันตกในท่ายืน ไมเกรน ซีด ร่างกายอ่อนเพลีย นอนไม่พอ โรควิตกกังวล/โรคกังวลทั่วไป

  • 1.

    มีภาวะช็อก (มีอาการกระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น หน้าซีด ลุกนั่งหน้ามืดจะเป็นลม ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเบาและเร็ว)?

  • 2.

    ลุกนั่งจะเป็นลม และชีพจรมากกว่า 100 ครั้ง/นาที?

  • 3.

    มีไข้ ซีด หรือ ปวดศีรษะ?

  • 4.

    คลื่นไส้ อาเจียนมากจนกินไม่ได้ หรือ เกิดภาวะขาดน้ำ?

  • 5.

    เห็นภาพซ้อน พูดไม่ชัด กลืนลำบาก หรือ แขนขาชาหรืออ่อนแรง?

  • 6.

    มีลักษณะอย่างน้อย 2 ข้อ ต่อไปนี้

    • มีอาการปวดตุบๆ ที่ขมับ 1-2 ข้าง ร่วมด้วย?
    • มีสาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการแบบเดียวกับไมเกรน หรือเวลาหมุนตัวไปมา เคลื่อนไหวศีรษะ หรือดูภาพ/สิ่งที่เคลื่อนไหว?
    • มีประวัติเคยเป็นไมเกรน หรือ เมารถบ่อย หรือ เคยมีอาการเวียนศีรษะ/บ้านหมุนบ่อย นานครั้งละ 5 นาที ถึง 72 ชั่วโมง?

  • 7.

    มีอาการไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก เกิดขึ้นฉับพลัน ขณะนั่งรถ เรือ เครื่องบิน หรือเครื่องเล่น?

  • 8.

    เห็นบ้านหมุน หรือสิ่งรอบข้างหมุน?

  • 9.

    เดินเซ?

  • 10.

    หูตึงข้างหนึ่ง? หรือ ใบหน้าชา หรืออ่อนแรงซีกหนึ่ง?

  • 11.

    กินยารักษาโรคลมชักเฟนิโทอิน?

ควรไปพบแพทย์ด่วน เพื่อตรวจหาสาเหตุ
หมายเหตุ : อาการของคุณข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ
โรคหลอดเลือดสมอง, เนื้องอกสมอง, ซิฟิลิสระยะ 3 หรือโรคทางสมองอื่น ๆ
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
หลอดเลือดสมอง สมองขาดเลือดชั่วขณะ อัมพาตครึ่งซีก
โรคหลอดเลือดสมอง/อัมพาตครึ่งซีก* จัดว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยในบ้านเราขณะนี้ มักพบในวัยกลางคนขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ และเป็นได้ทั้งหญิงและชาย
 
โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงในสมอง กล่าวคืออาจมีการแตก ตีบ หรือตันของหลอดเลือดเหล่านี้ ทำให้เนื้อสมองบางส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายตายไปและหยุดสั่งงาน จึงทำให้เกิดอาการอัมพาตของร่างกายส่วนนั้น ๆ ขึ้น
 
อาการมักจะเกิดขึ้นฉับพลันทันที เรียกว่า โรคลมอัมพาต โรคลมปัจจุบัน หรือสโตร๊ก (stroke)
 
*อัมพาต (paralysis) หมายถึง อาการอ่อนแรงของแขนขาหรืออวัยวะภายนอกอื่น ๆ (เช่น ใบหน้า ตา ปาก) ทำให้ร่างกายส่วนนั้นเคลื่อนไหวไม่ได้หรือได้น้อยกว่าปกติ โดยอาจมีอาการชา (ไม่รู้สึกเจ็บ) ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
 
ถ้าขาทั้ง 2 ข้างมีอาการอ่อนแรง หรือขยับเขยื้อนไม่ได้ เรียกว่า อัมพาตครึ่งล่าง (paraplegia) ถ้าแขนขาทั้ง 4 ขยับเขยื้อนไม่ได้ เรียกว่า อัมพาตหมดทั้งแขนขา (quadriplegia) อัมพาตทั้ง 2 ลักษณะนี้มักมีสาเหตุจากโรคของไขสันหลัง (ไขสันหลังอักเสบเฉียบพลัน, ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ, เนื้องอกไขสันหลัง)
 
แต่ถ้าแขนขาเพียงซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง หรือขยับเขยื้อนไม่ได้ เรียกว่า อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia) ซึ่งเป็นเรื่องที่จะกล่าวถึงในที่นี้
เนื้องอกสมอง

เนื้องอกสมอง หมายถึง เนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในกะโหลกศีรษะ ซึ่งสามารถเกิดจากเซลล์ได้ทุกชนิดที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อทุกส่วนของกะโหลกศีรษะ เนื้องอกสมองจึงมีอยู่ร่วมร้อยชนิด ซึ่งมีชื่อเรียกตามชนิดของเซลล์ 

 

เนื้องอกสมองมีทั้งชนิดไม่ร้ายหรือเนื้องอกธรรมดา กับเนื้องอกชนิดร้ายหรือมะเร็ง และยังแบ่งเป็นชนิดปฐมภูมิ ซึ่งเกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อภายในกะโหลกศีรษะเอง (มีทั้งเนื้องอกธรรมดา และมะเร็ง) กับชนิดทุติยภูมิ ซึ่งเป็นมะเร็งที่แพร่กระจายมาจากนอกกะโหลกศีรษะ*

 

โรคนี้พบได้ในคนทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้สูงอายุ กล่าวโดยรวมแล้ว โรคนี้พบได้บ่อยในกลุ่มอายุ 40-70 ปี ยิ่งอายุมากก็ยิ่งพบได้มาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้องอกชนิดทุติยภูมิมากกว่าชนิดปฐมภูมิ

 

ส่วนในเด็กพบมากในกลุ่มอายุ 3-12 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้องอกชนิดปฐมภูมิ และมักเป็นเนื้องอกธรรมดามากกว่ามะเร็ง เนื้องอกสมองที่พบในเด็กเป็นเนื้องอกที่พบได้มากที่สุดในบรรดาเนื้องอกที่พบในเด็ก

 

โรคนี้มักมีอาการปวดศีรษะเป็นสำคัญ พบว่าผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ 100,000 คน มีสาเหตุจากเนื้องอกสมองประมาณ 10 คน

 

นอกจากปวดศีรษะแล้ว เนื้องอกสมองยังมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยซึ่งมีได้หลากหลาย ตั้งแต่การรับรู้ การทำงานของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรม เนื่องมาจากเนื้องอกกดเบียดหรือทำลายเนื้อเยื่อสมอง เส้นประสาทสมอง และต่อมฮอร์โมนในสมองมีการหลั่งฮอร์โมนมากเกินหรือน้อยเกิน ทั้งนี้ ขึ้นกับขนาด ชนิด และตำแหน่งของเนื้องอก

 
*เนื้องอกสมอง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ 

1. ชนิดปฐมภูมิ หมายถึง เนื้องอกที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ (เช่น กะโหลกศีรษะ เยื่อหุ้มสมอง เซลล์สมอง เส้นประสาทสมอง ต่อมใต้สมอง ต่อมไพเนียล หลอดเลือด เป็นต้น) มีชื่อเรียกตามชนิดของเซลล์  ซึ่งยังแบ่งเป็นชนิดไม่ร้าย หรือเนื้องอกธรรมดา (benign tumor เช่น meningioma, pituitary tumor, acoustic neuroma, craniopharyngioma) กับชนิดร้ายหรือมะเร็ง (malignant tumor/cancer เช่น  glioma ซึ่งมีหลายชนิดย่อย, medulloblastoma, pineoblastoma) เนื้องอกสมองที่พบในเด็กมักเป็นชนิดปฐมภูมิ และเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายมากกว่าชนิดร้าย 

2. ชนิดทุติยภูมิ หมายถึง มะเร็งที่แพร่กระจายมาจากนอกกะโหลกศีรษะ ที่พบบ่อยได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไต มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา เนื้องอกสมองชนิดทุติยภูมิพบบ่อยในวัยกลางคนขึ้นไป บางครั้งผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการของเนื้องอกสมองมากกว่าอาการของมะเร็งที่เป็นต้นกำเนิด
ซิฟิลิส

ซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อหลายระบบและภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้มากกว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่น ๆ และมีระยะแฝงตัวของโรคที่ค่อนข้างยาวนาน ซึ่งสามารถแพร่ให้คู่สมรสและทารกในครรภ์ได้

โรคนี้พบได้บ่อยรองจากหนองใน