1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

มีอาการตัวร้อน หนาวๆ ร้อนๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว หรือตรวจพบว่ามีไข้* อาจมีอาการอ่อนเพลียเมื่อยล้า ปวดศีรษะ หรือเบื่ออาหารร่วมด้วย
สาเหตุที่พบบ่อย : ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ทอนซิลอักเสบ ไข้เลือดออก โควิด-19 ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
ถ้ามีไข้ร่วมกับมีน้ำมูกหรือไอ ดู ไข้ร่วมกับมีน้ำมูกหรือไอ
ถ้ามีไข้ร่วมกับมีผื่นหรือตุ่มขึ้น ดู ไข้ร่วมกับมีผื่นหรือตุ่มขึ้น
หมายเหตุ*
ใช้ปรอทวัดไข้ทางปาก มีค่ามากกว่า 37.2 องศาเซลเซียส (ตอนเช้า) หรือ 37.7 องศาเซลเซียส (ตอนบ่าย)
วัดไข้ทางรักแร้ มีค่ามากกว่า 36.7 องศาเซลเซียส (ตอนเช้า) หรือ 37.2 องศาเซลเซียส (ตอนบ่าย)
วัดไข้ทางหู หรือทางทวารหนัก มีค่ามากกว่า 37.7 องศาเซลเซียส (ตอนเช้า) หรือ 38.2 องศาเซลเซียส (ตอนบ่าย)
ข้อพึงระวัง ในช่วงที่มีการระบาดของโรคอุบัติใหม่ (เช่น โรคโควิด 19) หากมีอาการเป็นไข้ หรือ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย หรือ เดินทางกลับจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีการระบาด ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

  • 1.

    ไม่ค่อยรู้สึกตัว? ปวดศีรษะรุนแรง? อาเจียนรุนแรง? หรือ ชัก?

  • 2.

    มีภาวะช็อก (มีอาการกระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น หน้าซีด ลุกนั่งหน้ามืดจะเป็นลม ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเบาและเร็ว)?

  • 3.

    แขนขาอ่อนแรง หรืออัมพาตเกิดขึ้นฉับพลัน?

  • 4.

    มีไข้นานเกิน 1 เดือน?

  • 5.

    ไอเรื้อรัง หรือ น้ำหนักลดฮวบ?

  • 6.

    ปวดข้อนิ้วมือ 2 ข้าง ผมร่วง หรือ มีผื่นปีกผีเสื้อที่ข้างจมูก?

    วิธีสังเกตอาการผื่นปีกผีเสื้อ: มีรอยฝ้าแดงขึ้นที่ข้างจมูก (โหนกแก้ม) ทั้ง 2 ข้าง ลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ

  • 7.

    จับไข้หนาวสั่นวันเว้นวัน? และ เคยเข้าไปในดงมาลาเรีย/ได้รับการถ่ายเลือดในระยะหลายเดือนที่ผ่านมา?

  • 8.

    มีจุดแดงที่เยื่อบุตา/ใต้เล็บ?

ควรไปพบแพทย์ ภายใน 2-3 วัน เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติม เนื่องจากอาการของคุณข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ เยื่อบุหัวใจอักเสบเรื้อรัง
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
เยื่อบุหัวใจอักเสบ
เยื่อบุหัวใจอักเสบ หมายถึง การอักเสบของเยื่อบุผนังด้านในของหัวใจ (endocardium) ถือเป็นภาวะร้ายแรง หากไม่ได้รับการรักษา อาจตายได้รวดเร็ว โรคนี้พบมากในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก