1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

มีอาการตัวร้อน หนาวๆ ร้อนๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว หรือตรวจพบว่ามีไข้* อาจมีอาการอ่อนเพลียเมื่อยล้า ปวดศีรษะ หรือเบื่ออาหารร่วมด้วย
สาเหตุที่พบบ่อย : ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ทอนซิลอักเสบ ไข้เลือดออก โควิด-19 ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
ถ้ามีไข้ร่วมกับมีน้ำมูกหรือไอ ดู ไข้ร่วมกับมีน้ำมูกหรือไอ
ถ้ามีไข้ร่วมกับมีผื่นหรือตุ่มขึ้น ดู ไข้ร่วมกับมีผื่นหรือตุ่มขึ้น
หมายเหตุ*
ใช้ปรอทวัดไข้ทางปาก มีค่ามากกว่า 37.2 องศาเซลเซียส (ตอนเช้า) หรือ 37.7 องศาเซลเซียส (ตอนบ่าย)
วัดไข้ทางรักแร้ มีค่ามากกว่า 36.7 องศาเซลเซียส (ตอนเช้า) หรือ 37.2 องศาเซลเซียส (ตอนบ่าย)
วัดไข้ทางหู หรือทางทวารหนัก มีค่ามากกว่า 37.7 องศาเซลเซียส (ตอนเช้า) หรือ 38.2 องศาเซลเซียส (ตอนบ่าย)
ข้อพึงระวัง ในช่วงที่มีการระบาดของโรคอุบัติใหม่ (เช่น โรคโควิด 19) หากมีอาการเป็นไข้ หรือ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย หรือ เดินทางกลับจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีการระบาด ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

  • 1.

    ไม่ค่อยรู้สึกตัว? ปวดศีรษะรุนแรง? อาเจียนรุนแรง? หรือ ชัก?

  • 2.

    คอแข็ง (ก้มคอไม่ลง) หรือ กระหม่อมโป่งตึงในเด็กเล็ก?

    วิธีสังเกตอาการคอแข็ง: จับศีรษะผู้ป่วยให้ก้มลงข้างหน้า ผู้ป่วยจะก้มไม่ลง คอมีลักษณะแข็งทื่อ (คอปกติจะก้มให้คางชิดหน้าอกได้)

    คอแข็ง
    กระหม่อมโป่งตึง
  • 3.

     เคยเข้าไปในดงมาลาเรีย หรือ ได้รับการถ่ายเลือดภายในระยะหลายเดือนที่ผ่านมา?

  • 4.

    เคยถูกสุนัขหรือแมวกัด หรือข่วน และมีอาการกลัวน้ำกลัวลม?

  • 5.

    หลังเผชิญคลื่นความร้อน หรือทำงาน/ออกกำลังท่ามกลางอากาศร้อน?

  • 6.

    ขากรรไกรแข็ง หลังแอ่น หรือ ชักบ่อยเวลาสัมผัสถูก หรือถูกแสงสว่างหรือเสียงดังๆ?

  • 7.

    พบในเด็ก 6 เดือน-5 ปี ชักชั่วขณะหนึ่ง (ไม่เกิน 15 นาที) แล้วหยุดชักได้เอง?

ควรไปพบแพทย์ด่วน เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติม เนื่องจากอาการของคุณข้างต้นอาจมีสาเหตุร้ายแรง เช่น สมองอักเสบ, ฝีสมอง เป็นต้น
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
สมองอักเสบ
สมองอักเสบ หมายถึง การอักเสบของเนื้อสมอง
 
บางครั้งอาจพบมีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองร่วมด้วย ซึ่งเรียกว่า meningoencephalitis
 
ถือเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ พบได้ประปรายตลอดปี (ยกเว้นผู้ป่วยที่เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี จะพบมากในฤดูฝน) บางครั้งอาจพบการระบาด
ฝีสมอง
ฝีสมอง เป็นภาวะร้ายแรงที่พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
 
ผู้ป่วยมักมีประวัติการติดเชื้ออยู่ก่อน เช่น หูชั้นกลางอักเสบ (หูน้ำหนวกเรื้อรัง) ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมพอง เป็นไข้เรื้อรัง หรือมีประวัติได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ