1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

มีอาการตัวร้อน หนาวๆ ร้อนๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว หรือตรวจพบว่ามีไข้* อาจมีอาการอ่อนเพลียเมื่อยล้า ปวดศีรษะ หรือเบื่ออาหารร่วมด้วย
สาเหตุที่พบบ่อย : ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ทอนซิลอักเสบ ไข้เลือดออก โควิด-19 ปอดอักเสบ กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน
ถ้ามีไข้ร่วมกับมีน้ำมูกหรือไอ ดู ไข้ร่วมกับมีน้ำมูกหรือไอ
ถ้ามีไข้ร่วมกับมีผื่นหรือตุ่มขึ้น ดู ไข้ร่วมกับมีผื่นหรือตุ่มขึ้น
หมายเหตุ*
ใช้ปรอทวัดไข้ทางปาก มีค่ามากกว่า 37.2 องศาเซลเซียส (ตอนเช้า) หรือ 37.7 องศาเซลเซียส (ตอนบ่าย)
วัดไข้ทางรักแร้ มีค่ามากกว่า 36.7 องศาเซลเซียส (ตอนเช้า) หรือ 37.2 องศาเซลเซียส (ตอนบ่าย)
วัดไข้ทางหู หรือทางทวารหนัก มีค่ามากกว่า 37.7 องศาเซลเซียส (ตอนเช้า) หรือ 38.2 องศาเซลเซียส (ตอนบ่าย)
ข้อพึงระวัง ในช่วงที่มีการระบาดของโรคอุบัติใหม่ (เช่น โรคโควิด 19) หากมีอาการเป็นไข้ หรือ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย หรือ เดินทางกลับจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีการระบาด ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

  • 1.

    ไม่ค่อยรู้สึกตัว? ปวดศีรษะรุนแรง? อาเจียนรุนแรง? หรือ ชัก?

  • 2.

    มีภาวะช็อก (มีอาการกระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น หน้าซีด ลุกนั่งหน้ามืดจะเป็นลม ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเบาและเร็ว)?

  • 3.

    แขนขาอ่อนแรง หรืออัมพาตเกิดขึ้นฉับพลัน?

ควรไปพบแพทย์ ภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติม เนื่องจากอาการของคุณข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ โปลิโอ, ไขสันหลังอักเสบ, กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร หรือโรคอื่น ๆ
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
โปลิโอ

โปลิโอ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของประสาทไขสันหลังซึ่งพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เป็นสาเหตุให้แขนขาพิการไปจนตลอดชีวิต ปัจจุบันพบได้ค่อนข้างน้อยเนื่องจากมีการให้วัคซีนป้องกันได้อย่างทั่วถึง

 
ไขสันหลังอักเสบเฉียบพลัน
ไขสันหลังอักเสบเฉียบพลัน หมายถึง การอักเสบของเนื้อเยื่อประสาทตรงระดับใดระดับหนึ่งของไขสันหลัง ทำให้เกิดการขัดขวางการส่งทอดกระแสประสาท เป็นเหตุให้เกิดอาการอัมพาตอย่างฉับพลันของขาทั้ง 2 ข้าง (อัมพาตครึ่งล่าง) หรือแขนขาทั้ง 4 ข้าง (อัมพาตหมดทั้งแขนขา)
 
เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่อาจเป็นรุนแรงถึงตาย หรือพิการตลอดชีวิตได้ พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ พบบ่อยในช่วงอายุ 10-19 ปี และ 30-39 ปี
กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร

กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (กลุ่มอาการกีแยง-บาร์เร ก็เรียก) เป็นโรคที่มีภาวะผิดปกติของประสาทส่วนปลาย (peripheral nerves) หลายเส้นทั่วร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นอัมพาตแบบเฉียบพลัน ซึ่งมักพบหลังเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจหรือทางเดินอาหาร โดยไม่ทราบสาเหตุ  

โรคนี้นับว่าเป็นภาวะรุนแรง และอาจมีภาวะแทรกซ้อนเป็นอันตรายได้

พบได้ปีละประมาณ 1.2-3 คน ต่อประชากร 100,000 คน พบได้ในคนทุกวัย แต่จะพบบ่อยในกลุ่มอายุ 15-35 ปี และ 50-75 ปี และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 1.5 เท่า