1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

อัมพาต/แขนขาอ่อนแรง หมายถึงอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ขยับเขยื้อนไม่ได้หรือได้น้อยกว่าปกติ มักจะเป็นที่แขนขา ทำให้เดินไม่ได้หรือทำงานไม่ได้ บางรายแขนขาอาจแข็งแรงดี แต่มีอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้า หรือหนังตาก็ได้ ถ้ามีอาการอ่อนแรง (อัมพาต) ของกล้ามเนื้อตาที่ทำหน้าที่ลืมตา จะทำให้หนังตาตก ตาปรือ คล้ายคนง่วงนอน เราเรียกอาการนี้ว่า หนังตาตก
สาเหตุที่พบบ่อย : 1. แขนขาอ่อนแรง : อัมพาตครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ ไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ
2. หนังตาตก : ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ ไมแอสทีเนียเกรวิส

  • 1.

    หมดสติ?

  • 2.

    อัมพาตครึ่งล่าง (เฉพาะขา 2 ข้าง) หรือ อัมพาตหมดทั้งแขนขา (แขนขาทั้ง 4 ข้าง)?

  • 3.

    อัมพาตครึ่งซีก (แขนขาอ่อนแรงซีกหนึ่ง) แบบเกิดขึ้นฉับพลัน?

  • 4.

    แขน ขา มือ หรือเท้าไม่ค่อยมีแรง หรือ เดินกะเผลก?

  • 5.

    ขาข้างหนึ่งอ่อนปวกเปียก พบหลังมีอาการคล้ายไข้หวัด?

  • 6.

    ขาบวมและชา?

  • 7.

    ปวดหลังและร้าวลงไปที่ขา หรือ ปวดคอและร้าวลงไปที่แขน?

  • 8.

    มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงบางส่วน (เช่น หนังตาตก เห็นภาพซ้อน พูดเสียงเบา/เสียงแหบ/เสียงขึ้นจมูก เคี้ยวลำบาก กลืนลำบาก ยกแขนหรือลุกขึ้นยืนลำบาก) เป็นมากในช่วงบ่ายๆ เย็นๆ หรือหลังใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนั้นนานๆ และทุเลาหลังพักใช้งานส่วนนั้น หลังตื่นนอนในช่วงเช้าๆ เป็นปกติดี?

  • 9.

    มีอาการเป็นครั้งคราว?

  • 10.

     กินยาขับปัสสาวะเป็นประจำ?

ควรไปพบแพทย์ ภายใน 2-3 วัน เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติม เนื่องจากอาการของคุณข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ เนื้องอกสมอง, เนื้องอกไขสันหลัง, ปลายประสาทอักเสบ, ตะกั่วเป็นพิษ หรือโรคอื่น ๆ
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
เนื้องอกสมอง

เนื้องอกสมอง หมายถึง เนื้องอกที่เกิดขึ้นภายในกะโหลกศีรษะ ซึ่งสามารถเกิดจากเซลล์ได้ทุกชนิดที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อทุกส่วนของกะโหลกศีรษะ เนื้องอกสมองจึงมีอยู่ร่วมร้อยชนิด ซึ่งมีชื่อเรียกตามชนิดของเซลล์ 

 

เนื้องอกสมองมีทั้งชนิดไม่ร้ายหรือเนื้องอกธรรมดา กับเนื้องอกชนิดร้ายหรือมะเร็ง และยังแบ่งเป็นชนิดปฐมภูมิ ซึ่งเกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อภายในกะโหลกศีรษะเอง (มีทั้งเนื้องอกธรรมดา และมะเร็ง) กับชนิดทุติยภูมิ ซึ่งเป็นมะเร็งที่แพร่กระจายมาจากนอกกะโหลกศีรษะ*

 

โรคนี้พบได้ในคนทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้สูงอายุ กล่าวโดยรวมแล้ว โรคนี้พบได้บ่อยในกลุ่มอายุ 40-70 ปี ยิ่งอายุมากก็ยิ่งพบได้มาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้องอกชนิดทุติยภูมิมากกว่าชนิดปฐมภูมิ

 

ส่วนในเด็กพบมากในกลุ่มอายุ 3-12 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้องอกชนิดปฐมภูมิ และมักเป็นเนื้องอกธรรมดามากกว่ามะเร็ง เนื้องอกสมองที่พบในเด็กเป็นเนื้องอกที่พบได้มากที่สุดในบรรดาเนื้องอกที่พบในเด็ก

 

โรคนี้มักมีอาการปวดศีรษะเป็นสำคัญ พบว่าผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ 100,000 คน มีสาเหตุจากเนื้องอกสมองประมาณ 10 คน

 

นอกจากปวดศีรษะแล้ว เนื้องอกสมองยังมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วยซึ่งมีได้หลากหลาย ตั้งแต่การรับรู้ การทำงานของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรม เนื่องมาจากเนื้องอกกดเบียดหรือทำลายเนื้อเยื่อสมอง เส้นประสาทสมอง และต่อมฮอร์โมนในสมองมีการหลั่งฮอร์โมนมากเกินหรือน้อยเกิน ทั้งนี้ ขึ้นกับขนาด ชนิด และตำแหน่งของเนื้องอก

 
*เนื้องอกสมอง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ 

1. ชนิดปฐมภูมิ หมายถึง เนื้องอกที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ (เช่น กะโหลกศีรษะ เยื่อหุ้มสมอง เซลล์สมอง เส้นประสาทสมอง ต่อมใต้สมอง ต่อมไพเนียล หลอดเลือด เป็นต้น) มีชื่อเรียกตามชนิดของเซลล์  ซึ่งยังแบ่งเป็นชนิดไม่ร้าย หรือเนื้องอกธรรมดา (benign tumor เช่น meningioma, pituitary tumor, acoustic neuroma, craniopharyngioma) กับชนิดร้ายหรือมะเร็ง (malignant tumor/cancer เช่น  glioma ซึ่งมีหลายชนิดย่อย, medulloblastoma, pineoblastoma) เนื้องอกสมองที่พบในเด็กมักเป็นชนิดปฐมภูมิ และเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายมากกว่าชนิดร้าย 

2. ชนิดทุติยภูมิ หมายถึง มะเร็งที่แพร่กระจายมาจากนอกกะโหลกศีรษะ ที่พบบ่อยได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไต มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา เนื้องอกสมองชนิดทุติยภูมิพบบ่อยในวัยกลางคนขึ้นไป บางครั้งผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการของเนื้องอกสมองมากกว่าอาการของมะเร็งที่เป็นต้นกำเนิด
เนื้องอกไขสันหลัง
เนื้องอกไขสันหลัง หมายถึง เนื้องอกที่เกิดขึ้นที่ไขสันหลัง ซึ่งแบ่งเป็นชนิดปฐมภูมิ (มีต้นกำเนิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่อยู่ในและรอบ ๆ ไขสันหลัง ซึ่งมีทั้งชนิดไม่ร้ายและชนิดร้าย) และชนิดทุติยภูมิ (มะเร็งที่แพร่กระจายจากที่อื่น) ซึ่งพบได้บ่อยกว่าชนิดปฐมภูมิ
 
โรคนี้พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนเนื้องอกชนิดทุติยภูมิมักพบในคนวัยกลางคนและวัยสูงอายุ
 
เนื้องอกไขสันหลังพบได้น้อยกว่าเนื้องอกสมอง
ปลายประสาทอักเสบ
ปลายประสาทอักเสบ (ปลายประสาทเสื่อม ก็เรียก) หมายถึง ความผิดปกติของประสาทส่วนปลาย (นอกเหนือจากสมองและไขสันหลัง) ทำให้ส่วนปลายของแขนขามีอาการชาและอ่อนแรง ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับประสาทเส้นเดียว (mononeuropathy) หรือหลายเส้นพร้อมกัน (polyneuropathy) ก็ได้
 
โรคนี้พบมากในคนวัยกลางคนที่เป็นเบาหวาน หรือดื่มแอลกอฮอล์จัด
ตะกั่วเป็นพิษ

ตะกั่ว เป็นสารโลหะหนักที่ร่างกายรับเข้าไปในปริมาณมากเกินอาจมีพิษต่อระบบประสาทและสมอง และระบบต่าง ๆ เรียกว่า ภาวะตะกั่วเป็นพิษ ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้เป็นครั้งคราว ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่