1. ระบุอาการเบื้องต้น
  2. ตอบคำถาม
  3. ผลตรวจอาการ
  1. 1
  2. 2
  3. 3

อยู่ๆ มีอาการล้มฟุบ แน่นิ่ง หมดสติ หรือไม่รู้สึกตัวอย่างกะทันหัน ชั่วประเดี๋ยวเดียว (มักเป็นอยู่ราว 20 วินาที ถึง 1-2 นาที) แล้วกลับฟื้นคืนสติได้เอง ก่อนหมดสติอาจมีอาการศีรษะเบาหวิว วิงเวียน ตัวโคลงเคลง ตาพร่า ตาลาย คลื่นไส้ เหงื่อออก หน้าซีด เตือนล่วงหน้าราว 2-3 นาที
สาเหตุที่พบบ่อย : เป็นลมธรรมดา ความดันตกในท่ายืน น้ำตาลในเลือดต่ำ โรคลมชัก เป็นลมจากโรคหัวใจ

  • 1.

    แน่นิ่ง หมดความรู้สึกตัว?

  • 2.

    หมดความรู้สึกตัวชั่วประเดี๋ยวเดียว (1-2 นาที) แล้วฟื้นได้เอง?

  • 3.

    ขณะไม่รู้สึกตัวมีอาการชักเกร็งหรือแขนขากระตุกร่วมด้วย?

  • 4.

    ศีรษะได้รับบาดเจ็บ?

  • 5.

    เห็นภาพซ้อน พูดไม่ชัด กลืนลำบาก เดินเซ หรือ แขนขาชาหรืออ่อนแรง?

  • 6.

    เจ็บหน้าอกรุนแรง?

  • 7.

    ถ่ายอุจจาระดำ?

ควรไปพบแพทย์ด่วน เพื่อตรวจอาการเพิ่มเติม เนื่องจากอาการของคุณข้างต้นอาจเป็นสัญญาณของ ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารจาก กระเพาะอาหารอักเสบ, แผลเพ็ปติก, มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือโรคอื่น ๆ
การปฐมพยาบาล ขณะที่ผู้ป่วยมีอาการเป็นลม ไม่รู้สึกตัว ควรให้การช่วยเหลือ ดังนี้
  • จับผู้ป่วยนอนหงาย ศีรษะต่ำ (ไม่ต้องหนุนหมอน) เท้ายกสูง และจับศีรษะผู้ป่วยหันไปด้านข้าง
  • ปลดเสื้อผ้า เข็มขัด รวมทั้งสิ่งรัดคอ (เช่น เน็กไท ผ้าพันคอ กระดุมคอ) ให้หลวม
  • ห้ามคนมุงดู
  • ถ้าตัวเย็นหรืออากาศเย็น ห่มผ้าให้อบอุ่น
  • ขณะยังไม่ฟื้น ห้ามให้น้ำหรืออาหารทางปาก
  • เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัว อย่าให้ลุกขึ้นทันที ควรให้นอนพักต่ออีก 15-20 นาที หรือจนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ
  • เมื่อผู้ป่วยฟื้นคืนสติแล้วและเริ่มกลืนได้ อาจให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ (ถ้ารู้สึกกระหายน้ำ) หรือน้ำหวาน (ถ้ารู้สึกหิว)
หมายเหตุ :
1. แม้ว่าผู้ป่วยจะฟื้นเป็นปกติดีแล้ว ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุภายใน 1 สัปดาห์ แต่ถ้าหากมีอาการผิดปกติ (เช่น ปวดศีรษะมาก เวียนศีรษะมาก อาเจียน เจ็บหน้าอก เห็นภาพซ้อน กลืนลำบาก ถ่ายอุจจาระดำ มีเลือดออก) หรือสงสัยมีสาเหตุจากโรคหัวใจหรือโรคสมอง ควรไปพบแพทย์โดยเร็วหรือทันที
2. ถ้าผู้ป่วยหมดสตินานเกิน 2-3 นาที ให้ทำการปฐมพยาบาลแบบอาการหมดสติ แล้วนำส่งโรงพยาบาลทันที
หมายเหตุ
ผลตรวจอาการเบื้องต้นดังกล่าว เป็นเพียงอาการ ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยเท่านั้น เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ควรเข้ารับการตรวจอาการโดยตรงอีกครั้งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ณ สถานพยาบาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
กระเพาะอาหารอักเสบ
กระเพาะอาหารอักเสบ (กระเพาะอักเสบ ก็เรียก) หมายถึง การอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ในปัจจุบันได้แบ่งกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นชนิดเยื่อบุกร่อน (erosive gastritis) ชนิดเรื้อรัง (chronic/nonerosive gastritis) และชนิดจำเพาะ (specific types of  gastritis) โรคนี้พบได้ในคนทั่วไป พบมากในผู้ที่กินยาแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (ยาแก้ปวดข้อ) ดื่มสุราจัด และผู้สูงอายุ
แผลเพ็ปติก
แผลเพ็ปติก* หมายถึง แผลที่เกิดบนเยื่อบุกระเพาะอาหาร (stomach) ซึ่งเรียกว่า โรคแผลกระเพาะอาหาร หรือแผลจียู (gastric ulcer/GU) หรือแผลที่เยื่อบุลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) ซึ่งเรียกว่า โรคแผลลำไส้เล็กส่วนต้น หรือแผลดียู (duodenal ulcer/DU)
 
แผลเพ็ปติกเป็นโรคที่พบได้บ่อย ประมาณร้อยละ10-20 ของคนทั่วไปจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
 
แผลลำไส้เล็กส่วนต้น (ดียู) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-4 เท่า และพบมากในช่วงอายุประมาณ 30-55 ปี ขณะที่แผลกระเพาะอาหารพบในผู้ชายพอ ๆ กับผู้หญิง และพบในช่วงอายุประมาณ 55-70 ปี แต่ทั้ง 2 โรคนี้ก็สามารถพบได้ในคนทุกวัย
 
 
*เดิมนิยมเรียกว่า โรคกระเพาะ โดยวินิจฉัยจากอาการแสดง คือ ปวดท้องตรงยอดอกหรือใต้ลิ้นปี่ที่เกิดก่อนหรือหลังอาหาร (หิวแสบ-อิ่มจุก) เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันพบว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่จำเพาะว่าเกิดจากแผลเพ็ปติกเสมอไป ต้องอาศัยการตรวจโดยการใช้กล้องส่อง หรือเอกซเรย์โดยการกลืนแป้งแบเรียม จึงจะแยกสาเหตุได้ชัดเจน ดังนั้น คำว่า "โรคกระเพาะ" จึงมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า "อาหารไม่ย่อย" ในที่นี้จึงขอใช้คำว่า "แผลเพ็ปติก" ในการเรียกชื่อโรคแผลกระเพาะอาหาร และแผลลำไส้เล็กส่วนต้น
มะเร็งกระเพาะอาหาร

มะเร็งกระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่พบในคนอายุมากกว่า 40 ปี พบมากในช่วงอายุ 60-80 ปี คนอายุน้อยกว่า 40 ปีก็พบได้แต่น้อย พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 3เท่า พบมากเป็นอันดับที่ 9 ของมะเร็งในผู้ชาย


ตำแหน่งมะเร็งกระเพาะอาหาร
ตำแหน่งมะเร็งกระเพาะอาหาร