
เกิดจากมีลิ่มเลือด (blood clot หรือ thrombus) ก่อตัวขึ้นในหลอดเลือด ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมากมาย เช่น
- การไม่ได้ลุกขึ้นเดินเป็นเวลานาน เช่น นั่งรถหรือเครื่องบินระยะทางไกล
- การนอนพักฟื้นอยู่บนเตียงนาน ๆ เช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัด กระดูกหัก หรือเป็นโรคหัวใจ
- ผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก
- ผู้ป่วยที่มีแขนขาเป็นอัมพาต
- ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งตับอ่อน ที่ทำให้เลือดแข็งตัวได้ง่าย
- ผู้หญิงที่กินยาเม็ดคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนทดแทนสำหรับหญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งทำให้เลือดแข็งตัวง่าย
- หญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอดใหม่ ๆ ซึ่งจะทำให้มีแรงดันสูงในหลอดเลือดดำที่บริเวณเชิงกรานและขา
- ผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีภาวะขาดน้ำหรือสูบบุหรี่
- ผู้ที่รูปร่างอ้วน
- การมีภาวะบาดเจ็บต่อหลอดเลือดดำ เช่น การผ่าตัดหลอดเลือด หรือฉีดสารระคายเคืองเข้าหลอดเลือด
- การมีความผิดปกติที่ทำให้เลือดจับเป็นลิ่มง่าย หรือมีประวัติพ่อแม่พี่น้องมีภาวะเลือดจับเป็นลิ่มง่าย
ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือด จะไม่มีอาการแสดงใด ๆ จนกว่ามีภาวะแทรกซ้อนที่ปอด ก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก
ส่วนกลุ่มที่มีอาการจะรู้สึกปวดหน่วง ๆ ตึง ๆ หรือเจ็บบริเวณน่อง หรือขาข้างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเดิน ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลัน และอาจมีอาการบวมที่ข้อเท้า เท้า หรือต้นขาร่วมด้วย
ที่สำคัญ ได้แก่ ลิ่มเลือดหลุดลอยเข้าสู่หัวใจและไปอุดตันในหลอดเลือดแดงปอด เรียกว่า ภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดแดงปอด (pulmonary embolism)* ซึ่งอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตอย่างกะทันหันได้
ในรายที่มีผนังหัวใจรั่วโดยกำเนิดอยู่ก่อน ลิ่มเลือดอาจหลุดเข้าไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจหรือสมอง ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดสมองได้
นอกจากนี้ ยังอาจมีการทำลายลิ้นเล็ก ๆ ในหลอดเลือดดำขา (ที่ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดไหลกลับลงเท้า) ทำให้เกิดหลอดเลือดขอดที่ขา เท้าบวม ผิวหนังบริเวณข้อเท้าด้านในกลายเป็นสีน้ำตาลแดง และอาจเกิดเป็นแผลง่าย
อาการแสดงของโรคนี้ ขึ้นกับขนาดและจำนวนสิ่งหลุดที่ไปอุดตัน ซึ่งมีผลต่อปริมาณเนื้อปอดที่ตายจากการขาดเลือด ในกรณีสิ่งหลุดมีขนาดเล็กและปริมาณน้อย ก็อาจไม่ทำให้เกิดอาการแสดงใด ๆ ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่โรคนี้มักทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบซึ่งเกิดขึ้นรวดเร็วฉับพลัน บางรายอาจมีอาการแรกเริ่มคือ รู้สึกศีรษะโหวง ๆ เป็นลม หรือชัก เนื่องจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง ถ้าสิ่งหลุดมีขนาดใหญ่มักทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกแปลบขึ้นฉับพลัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาหายใจเข้าลึก ๆ ต่อมาเมื่อมีการตายของเนื้อปอดร่วมด้วย ก็จะมีอาการไอออกเป็นเลือดและอาจมีไข้ร่วมด้วย ในรายที่มีการอุดตันของหลอดเลือดแดงปอดขนาดใหญ่ (ซึ่งพบได้น้อย) เนื้อปอดจะถูกทำลายเกือบทั้งหมด ผู้ป่วยมักมีอาการหน้าเขียว ตัวเขียว และเสียชีวิตอย่างกะทันหันแบบภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
การตรวจร่างกาย มักพบอาการหอบ ชีพจรเต้นเร็ว อาจเต้นไม่เป็นจังหวะ ฟังปอดอาจมีเสียงกรอบแกรบ (crepitation) และอาจตรวจพบอาการของภาวะหลอดเลือดดำส่วนลึกมีลิ่มเลือดร่วมด้วย
การรักษา แพทย์มักจะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล ทำการตรวจพิเศษ เช่น เอกซเรย์ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจดูการไหลเวียนเลือดในปอด (lung perfusion scan, CT angiography) เป็นต้น ถ้าพบว่าเกิดจากลิ่มเลือดอุดตัน ก็มักจะให้สารกันเลือดเป็นลิ่ม ได้แก่ เฮพาริน (heparin) ในรายที่อยู่ในขั้นอันตรายมาก อาจให้ยาละลายลิ่มเลือด (streptokinase หรือ tPA)
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ ดังนี้
อาการกดเจ็บที่น่อง ขาบวม เท้าบวมข้างหนึ่ง
บางรายอาจมีไข้ต่ำ ๆ ชีพจรเต้นเร็ว
การตรวจโดยจับปลายเท้ากระดกขึ้น ทำให้รู้สึกเจ็บน่องมากขึ้น เรียกว่า อาการโฮแมน (Homan’s sign) ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วย
แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยการตรวจอัลตราซาวนด์ (doppler ultrasonography) การถ่ายภาพรังสีหลอดเลือดดำด้วยการฉีดสารทึบรังสี (venography) ในกรณีสงสัยว่าอาจมีภาวะสิ่งหลุดอุดตันหลอดเลือดแดงปอดก็จะทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติม
แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยให้ผู้ป่วยนอนพักและยกเท้าสูง 6 นิ้ว ให้สารกันเลือดเป็นลิ่ม ได้แก่ เฮพาริน (heparin) ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง แล้วให้กินยาเม็ดวาร์ฟาริน (warfarin) ต่อ ซึ่งอาจต้องกินนาน 2-6 เดือน ยานี้ทำให้เลือดออกได้ง่าย จำเป็นต้องตรวจเลือดดู clotting time แล้วปรับขนาดยาให้เหมาะสม
การรักษาอื่น ๆ ได้แก่ การพันด้วยผ้าพันแผลชนิดยืด หรือการสวมใส่ถุงน่องชนิดยืด (elastic stocking) เพื่อแก้ไขอาการบวมและป้องกันภาวะแทรกซ้อน การผ่าตัดเอาลิ่มเลือดออก บางกรณีอาจสอดใส่ “ตัวกรอง (filter)” ไว้ในท่อเลือดดำส่วนล่าง (inferior vena cava) เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดหลุดลอยเข้าปอด
หากสงสัย เช่น มีอาการปวดหน่วง ๆ ตึง ๆ หรือเจ็บบริเวณน่องหรือขาข้างหนึ่ง หรือมีอาการบวมที่ข้อเท้า เท้า หรือต้นขาข้างหนึ่ง ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
เมื่อตรวจพบว่าเป็นภาวะหลอดเลือดดำมีลิ่มเลือด ควรดูแลตนเอง ดังนี้
- ดูแลรักษา กินยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
- ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
- ควรระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุหรือบาดแผล
- หลีกเลี่ยงการซื้อยากินเอง เพราะอาจมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาด้านลบกับยาที่ใช้รักษาอยู่ก่อน
ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- มีเลือดออกหรือมีจ้ำเขียวหรือรอยห้อเลือดที่ผิวหนัง
- ขาดยาหรือยาหาย
- กินยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง ตาบวม ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน จุดแดงจ้ำเขียว หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ
1. สำหรับผู้ที่นั่งรถหรือเครื่องบิน ควรป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ โดยการปฏิบัติดังนี้
- ถ้านั่งเครื่องบิน ควรลุกขึ้นเดินในห้องโดยสารทุก ๆ ชั่วโมง ถ้านั่งรถ ทุก ๆ ชั่วโมงควรหยุดรถ และเดินไปมารอบรถสักครู่
- ขณะนั่งอยู่กับที่ หมั่นบริหารขาโดยการงอ-เหยียดข้อเท้าขึ้นลง 10 ครั้ง
ในกรณีโดยสารเครื่องบินนานเกิน 6 ชั่วโมง ควรปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าหรือเข็มขัดรัดเอว
- ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
2. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยอัมพาต คนอ้วน ผู้หญิงที่กินยาเม็ดคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทน ควรมีการออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกาย (เช่น เดิน) อยู่บ่อย ๆ ดื่มน้ำมาก ๆ (อย่าให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำ) หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หมั่นบริหารขาโดยการงอ-เหยียดข้อเท้าขึ้นลง
3. สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เคยมีภาวะหลอดเลือดดำมีลิ่มเลือดมาก่อน มีภาวะเลือดจับเป็นลิ่มง่าย ผู้ที่ต้องรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ผู้ป่วยโรคหัวใจหรืออัมพาต เป็นต้น ถ้าจำเป็นต้องรับการผ่าตัดหรือเข้าพักรักษาตัว (นอนบนเตียง) ในโรงพยาบาลนาน ๆ แพทย์อาจพิจารณาให้สารกันเลือดจับเป็นลิ่มป้องกัน
1. ผู้ป่วยที่รับสารกันเลือดเป็นลิ่ม อาจมีเลือดออกได้ง่าย ควรระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุหรือบาดแผล และถ้ามีเลือดออก ควรรีบไปโรงพยาบาล
2. อาการขาบวมข้างหนึ่ง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ที่สำคัญคือ ทางเดินน้ำเหลืองอุดกั้น ซึ่งอาจเกิดจากมะเร็ง ภาวะแทรกซ้อนจากการฉายรังสี การติดเชื้อ (เช่น โรคเท้าช้าง) สาเหตุเหล่านี้มักไม่มีอาการเจ็บปวด อย่างไรก็ตาม เมื่อพบอาการขาบวมข้างหนึ่งก็ควรจะปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ