
บาดทะยัก เป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง ซึ่งยังพบได้เป็นครั้งคราวในบ้านเรา พบได้ในคนทุกวัย ส่วนมากจะมีประวัติมีบาดแผลตามร่างกาย (เช่น ตะปูตำ หนามเกี่ยว มีบาดแผลสกปรก หรือขาดการดูแลที่ถูกต้อง) และผู้ป่วยไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน
ระยะแรกเริ่ม ผู้ป่วยจะมีอาการขากรรไกรแข็ง (lockjaw) เนื่องจากกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคี้ยว หดเกร็ง และแข็งตัว ทำให้มีอาการขยับปากไม่ได้ ทำท่าเหมือนยิ้มแสยะ กลืนลำบาก

อาจพบอาการขาดออกซิเจนขณะชัก อาการขาดอาหารเพราะกลืนไม่ได้ ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะไม่ได้ เนื่องจากการแข็งตัวของกล้ามเนื้อหูรูด ปอดอักเสบ ปอดแฟบ (atelectasis) ปอดทะลุ กระดูกสันหลังหักจากการชัก

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ ดังนี้
แพทย์จะรับตัวผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล ให้การรักษาตามอาการและรักษาแบบประคับประคอง เช่น ให้สารน้ำ เกลือแร่ และอาหาร ให้ยากันชัก (เช่น ไดอะซีแพม) ใส่ท่อหายใจ (บางรายอาจต้องเจาะคอ) และใช้เครื่องช่วยหายใจ ดูแลรักษาบาดแผล เป็นต้น
หากสงสัย เช่น มีอาการขากรรไกรแข็ง อ้าปากไม่ได้ ใบหน้ามีลักษณะเหมือนยิ้มแสยะ คอแข็ง หลังแอ่น และอาการชักเกร็งเป็นพัก ๆ เวลาถูกสิ่งกระตุ้น(เช่น แสง เสียง การสัมผัสถูกตัว) ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
1. ฉีดวัคซีนรวมป้องกันคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (DTP) ตั้งแต่อายุได้ 2 เดือน ถ้าไม่เคยฉีดตอนเด็ก ควรฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักให้ครบตามกำหนด และควรฉีดกระตุ้นทุก ๆ 10 ปี

1. ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการบาดทะยักเฉพาะที่ คือมีอาการหดเกร็งและแข็งตัวของกล้ามเนื้อใกล้บริเวณบาดแผล มักเกิดจากการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงและหายไปได้เอง แต่ในบางรายก็อาจมีอาการกระจายไปทั่วร่างกายก็ได้