
.png)
เกิดจากตับของทารกยังทำงานไม่ได้เต็มที่ ไม่สามารถขจัดสารสีเหลือง (บิลิรูบิน) จากกระแสเลือด ออกไปทางลำไส้ได้ทัน จึงมีการคั่งของสารนี้ ทำให้เกิดอาการตาเหลืองตัวเหลือง (ดีซ่าน) ชั่วคราวได้
โดยทั่วไปภาวะเช่นนี้มักไม่มีอันตรายต่อทารกแต่อย่างใด ยกเว้นในรายที่มีอาการเหลืองจัด (มีระดับบิลิรูบินในเลือดสูงจัด) อาจทำให้สมองพิการได้ เนื่องจากสารบิลิรูบินเข้าไปสะสมในเนื้อสมอง ทำให้สมองทำหน้าที่ผิดปกติ เรียกว่า ภาวะสารบิลิรูบินสะสมในสมอง (kernicterus) หรือ โรคสมองบิลิรูบิน (bilirubin encephalopathy) ทารกจะมีอาการซึม ไม่ดูดนม อาเจียน หลังแอ่น ตาเหลือก ชัก และอาจเสียชีวิตได้ หรือไม่ก็อาจกลายเป็นเด็กพิการ ปัญญาอ่อน หูหนวก
- มีไข้ อาเจียน ท้องเดิน ซีด มีจุดแดงจ้ำเขียว ซึมผิดปกติ ตัวอ่อนปวกเปียก หรือชัก
- อุจจาระสีเหลืองอ่อน หรือซีดขาว
- ทารกไม่ดูดนม
- มีอาการตัวเหลืองเข้มขึ้นเรื่อย ๆ หรือ ฝ่าเท้าเหลือง
- เริ่มมีอาการดีซ่านภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดหรือเมื่อมีอายุมากกว่า 3 วัน
- มีความวิตกกังวล
หลังคลอดควรให้ทารกดูดนมโดยเร็ว (ภายใน 1/2 - 1 ชั่วโมงหลังคลอด) และบ่อย ๆ จะช่วยกระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนตัวและถ่ายอุจจาระ อาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะดีซ่าน และลดความรุนแรงลงได้
ควรทำการตรวจดูอาการดีซ่านในทารกทุกรายตั้งแต่ระยะหลังคลอดจนพ้นระยะ 1-2 สัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เนื่องจากมักมีสาเหตุร้ายแรง ซึ่งหากได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ จะสามารถช่วยให้อยู่รอดปลอดภัย และลดภาวะแทรกซ้อนทางสมองลงได้มาก